top of page

ถอดรหัสคำว่า ‘ขี้เกียจ’ ที่อาจเป็นแค่เสียงของใจที่ยังไม่ถูกฟัง พ่อแม่สามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้


“หนูขี้เกียจเรียนค่ะ” “หนูไม่อยากทำอะไรเลย” พ่อแม่หลายคนได้ยินแล้ว “รีบสอน” แต่ครูกุ้งอยากชวนให้... “รีบฟัง” เพื่อเข้าใจ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

เพราะเด็กที่พูดว่าขี้เกียจ อาจไม่ได้รู้สึก “ขี้เกียจจริง ๆ”แต่กำลังสื่อสารบางอย่างที่ลึกกว่านั้น เช่น“หนูไม่เห็นคุณค่าในสิ่งที่เรียน”“หนูรู้สึกไม่มีแรงจูงใจ”“หนูไม่เข้าใจเป้าหมายของการทำสิ่งนี้เลย”


Self-Talk ที่เด็กใช้ บอกอะไรเรา?

ตามแนวคิดของ Albert Ellis และ Aaron Beck ซึ่งเป็นบิดาแห่ง CBT (Cognitive Behavioral Therapy)สิ่งที่เราพูดกับตัวเอง (Self-Talk) จะสะท้อน "Core Beliefs" ที่ฝังลึก

เด็กที่พูดว่า "ขี้เกียจ" บ่อย ๆ อาจ:

  • กลัวล้มเหลว

  • เคยพยายามแล้วไม่สำเร็จ

  • รู้สึกว่าเรียนไปก็ไม่มีความหมาย

EF กับคำว่า "ขี้เกียจ"

  • เด็กที่ ขาด Goal-Directed Persistence จะไม่รู้ว่าทำไปเพื่ออะไร

  • เด็กที่ Inhibitory Control ต่ำ จะห้ามใจไม่ได้เมื่อเจอสิ่งล่อใจ

  • เด็กที่ Self-Monitoring ยังไม่พัฒนา จะไม่รู้ว่าอารมณ์กำลังพาไปไหน



ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก


เปลี่ยนการสอน เป็นการค้นหาความหมาย

  1. “หนูรู้สึกยังไงกับวิชานี้?”

  2. “อะไรทำให้หนูเบื่อหรือหมดแรงใจ?”

  3. “หนูเคยมีวิชาไหนที่เรียนแล้วรู้สึกดี?”

  4. “เราจะเปลี่ยนวิชานี้ให้มีความหมายขึ้นยังไงได้บ้าง?”


จุดจบ ❌ กับ จุดไปต่อ ✅

❌ “ลูกขี้เกียจ! ต้องใช้วินัย”

✅ “คำว่าขี้เกียจ อาจเป็นเพียงเสียงที่รอให้พ่อแม่เข้าไปฟังให้ลึกขึ้นอีกนิด”


แหล่งอ้างอิงแนวคิด

  1. Ellis, A. (1962). Reason and Emotion in Psychotherapy

  2. Beck, A. T. (1976). Cognitive Therapy and the Emotional Disorders

  3. Harvard University: EF & Motivation Development Resources

Comments


bottom of page